วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 Sience Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.


Story of subject

            อาจาย์ให้จับกลุ่มและศึกษาแนวคิดของนักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ พัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ บรูเนอร์ (Bruner) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ 
     โดยบรูเนอร์ มีความเชื่อว่า " พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการภายในอินทรีย์ เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก "
     บรูเนอร์ได้เสนอหลักการของทฤษฎีไว้ ลักษณะ ดังนี้
1. แรงจูงใจ คือ แรงจูงใจที่เกิดจากตัวผู้เรียน
2. โครงสร้าง คือ โครงสร้างของบทเรียน
3. ลำดับขั้นความต่อเนื่อง คือ ลำดับเนื้อหาที่จัดให้ผู้เรียน
4. การเสริมแรง คือ ตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียน
     บรูเนอร์ได้แบ่งลำดับขั้นของพัฒนาการไว้ ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1  ขั้นการกระทำ
   เป็นขั้นที่เด็กได้เรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ได้แก่ ตามองดู หูฟัง กายสัมผัส จมูกดมกลิ่นและลิ้นชิมรส
ขั้นที่ 2  ขั้นจินตนาการ
    เป็นขั้นที่เด็กได้คิดและจินตนาการหลังจากที่ได้ลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 
ขั้นที่ 3  ขั้นใช้สัญลักษณ์และความคิดรวบยอด
        เป็นขั้นที่เด็กถ่ายทอดสิ่งที่ได้รับรู้ผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ท่าทาง ภาษา ชิ้นงาน เป็นต้น เป็นขั้นที่เด็กพัฒนาความคิดรวบยอด
        
       แนวทางในการนำทฤษฎีของบรูเนอร์ไปใช้ในการจัดการเรียน
1. ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจในการเรียน คือ เลือกเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ อยากรู้ อยากศึกษา
2. โครงสร้างของบทเรียนมีความเหมาะสม คือ เนื้อหาต้องเหมาะสมกับพัฒนาการและวัยของผู้เรียน
3. การจัดลำดับเนื้อหา คือ ควรเริ่มเรียนจากเนื้อหาที่ง่ายไปยากไม่ควรข้ามขั้น หรือสอนวนไปมา
4. การเสริมแรง คือ ต้องมีแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากพัฒนาตนเองและเกิดความภูมิใจ
ในตนเอง อาทิ คำชมเชย ของรางวัล เป็นต้น 
สรุป :  ทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ ความเข้าใจ โดยผ่านขั้นความคิด ขั้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต



 Evaluation
   
ตนเอง : วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนเเละพยายามตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
เพื่อน :   เพื่อนแต่ละคนมีส่วนช่วยในงานกลุ่ม มีการร่วมกันแสดงความคิดเห็น ออกแบบและสร้างชิ้นงานเพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน
อาจารย์ : เป็นผู้มอบหมายงานและชี้แนะแนวทางในการทำงาน มีการให้คำปรึกษาเมื่อนักศึกษามีข้อสงสัยในการทำงาน



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Sience Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.


Story of subject

            อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ที่ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มานำเสนอ เพื่อที่เราจะได้ไปทัศน์ศึกษากัน  สัปดาห์นี้อาจารย์ก็ได้ให้นำเสนอแหล่งการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ โดยมีทั้งหมด  สถานที่ ได้แก่ 
1.   อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
2.   ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี
3.   Coro Field อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
4.   อ่าวทุ่งโป่ง กองพันลาดตระเวน ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

          อาจารย์ให้จับกลุ่ม และช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้กระดาษลอยในอากาศได้นานที่สุด โดยกลุ่มเราทำเป็นจรวด พบว่าลอยอยู่ในอากาศได้เพียงไม่นานก็ตกลงสู่พื้น จากการสังเกตทั้ง 4 กลุ่ม พบว่ากลุ่มที่จรวดสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด ใช้กระดาษเพียงครึ่งแผ่น ทำให้จรวดมีน้ำหนักเบา และสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นาน จากการสรุปร่วมกัน ได้ว่าปัจจัยที่สามารถทำให้จรวดลอยอยู่ในอากาศได้นาน มีทั้ง องศาของการปา น้ำหนัก แรงส่งมี่ใช้ในการปาจรวด เป็นต้น


       
 Evaluation

ประเมินตนเอง  วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ผู้สอนได้ให้เรียนรู้ เเละมีการตอบคำถามของอาจารย์ผู้สอน
ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆแต่ละคนให้ความสนใจในการทำกิจกรรมดีมาก มีการพูดคุย ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
ประเมินอาจารย์    อาจารย์ได้สอนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการถามคำถามใหเนักศึกษาได้ตอบ เพื่อที่จะช่วยกระตุ้นให้เราเกิดการเรียนรู้และเกิดการจำ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  2

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Sience Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.


 Story of subject 

           อาจารย์ได้เรียกนักศึกษามารวมกันเพื่อทำการชี้แจ้งงานต่างๆที่จะมอบหมาย โดยอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มจำนวน 5 กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เพื่อจัดทำ PowerPoint นำเสนองานตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับ โดยอาจารย์ได้แบ่งเป็น 5 หัวข้อดังนี้
1.   ความหมายความสำคัญของวิทยาศาสตร์
2.   พัฒนาการเด็กปฐมวัย
3.   จิตวิทยาการเรียนรู้
4.   แนวคิดของนักการศึกษา
5.   หลักการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
             โดยกลุ่มของดิฉันได้หัวข้อ " พัฒนาการเด็กปฐมวัย" อาจารย์จึงได้ให้นักศึกษาไปหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยต้องใส่อ้างอิงให้ถูกต้องแล้วนำมานำเสนอในรูปแบบ PowerPoint ในสัปดาห์ต่อไป

Evaluation

ประเมินตนเอง  วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์ แต่มีคุยเล็กน้อย เเละฟังงานที่อาจารย์ผู้สอนมอบหมายให้

ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังงานที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เตรียมข้อมูลเพื่อชี้เเจ้งเรื่องงานให้นักศึกษาได้อย่างดี


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood


Story of subject

แนวการสอน (Course Syllabus)

ชื่อวิชา(ภาษาไทย)            การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด้กปฐมวัย
ชื่อวิชา(ภาษาอังกฤษ)       Science Experiences Management for Early Childhood
รหัสวิชา                      EAED3207                       จำนวนหน่วยกิต 3(2-2-5)
ผู้สอน                        อาจารย์ ดร.จินตนา   สุขสำราญ  E-Mail : jintana-su@hotmail.com
เวลาเรียน                    กลุ่ม 101  วันอังคาร คาบ 1-4 เวลา 08.30-12.30 น.  34-501(ชั้น 5)
สถานที่ติดต่อ                ห้องพักอาจารย์ชั้น 2 อาคาร 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
โทรศัพท์                       081-4915481


คำอธิบายรายวิชา
                               
             ศึกษาความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎี และหลักการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แนวคิดและทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญา การประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทักษะกระบวนการณ์ทางวิทยาศาสตร์  รูปแบบการจัดประสบการณทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กรอบมาตรฐานการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การออกแบบและวางแผนกิจกรรมบูรณาการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การผลิตสื่อวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย การใช้คำถามพัฒนาการคิด การใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ บทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์

Course Syllabus

แนวการสอน (Course Syllabus)

ชื่อวิชา(ภาษาไทย)     การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด้กปฐมวัยชื่อวิชา(ภาษาอังกฤษ)             Science Experiences Management for Early Childhood
รหัสวิชา  EAED 3207   หน่วยกิต 3(2-2-5)
ผู้สอน   อาจารย์ ดร.จินตนา   สุขสำราญ  E-Mail : jintana-su@hotmail.com
กลุ่ม 101  วันอังคาร คาบ 1-4 เวลา 08.30-12.30 น.  34-501(ชั้น 5)สถานที่ติดต่อ            
ห้องพักอาจารย์ชั้น 2 อาคาร 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมโทรศัพท์   081-4915481

คำอธิบายรายวิชา                     

  ศึกษาความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎี และหลักการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แนวคิดและทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญา การประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทักษะกระบวนการณ์ทางวิทยาศาสตร์  รูปแบบการจัดประสบการณทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กรอบมาตรฐานการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การออกแบบและวางแผนกิจกรรมบูรณาการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การผลิตสื่อวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย การใช้คำถามพัฒนาการคิด การใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ บทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  

PROFILE


PROFILE



Name    Sirivimon  Phetnakhorn
Nickname  Pao
Identification number  5811200178
Birthday 1 February 1997
Graduate Rattanakosin Sompoch Bangkhen school
E-MAIL  Anneiei_woody@hotmail.com
Phone :  095-1281890

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่   14 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย Science Experiences Management For Early Childhood      ...