วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 Sience Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.


Story of subject

            อาจาย์ให้จับกลุ่มและศึกษาแนวคิดของนักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ พัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ บรูเนอร์ (Bruner) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ 
     โดยบรูเนอร์ มีความเชื่อว่า " พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการภายในอินทรีย์ เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก "
     บรูเนอร์ได้เสนอหลักการของทฤษฎีไว้ ลักษณะ ดังนี้
1. แรงจูงใจ คือ แรงจูงใจที่เกิดจากตัวผู้เรียน
2. โครงสร้าง คือ โครงสร้างของบทเรียน
3. ลำดับขั้นความต่อเนื่อง คือ ลำดับเนื้อหาที่จัดให้ผู้เรียน
4. การเสริมแรง คือ ตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียน
     บรูเนอร์ได้แบ่งลำดับขั้นของพัฒนาการไว้ ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1  ขั้นการกระทำ
   เป็นขั้นที่เด็กได้เรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ได้แก่ ตามองดู หูฟัง กายสัมผัส จมูกดมกลิ่นและลิ้นชิมรส
ขั้นที่ 2  ขั้นจินตนาการ
    เป็นขั้นที่เด็กได้คิดและจินตนาการหลังจากที่ได้ลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 
ขั้นที่ 3  ขั้นใช้สัญลักษณ์และความคิดรวบยอด
        เป็นขั้นที่เด็กถ่ายทอดสิ่งที่ได้รับรู้ผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ท่าทาง ภาษา ชิ้นงาน เป็นต้น เป็นขั้นที่เด็กพัฒนาความคิดรวบยอด
        
       แนวทางในการนำทฤษฎีของบรูเนอร์ไปใช้ในการจัดการเรียน
1. ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจในการเรียน คือ เลือกเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ อยากรู้ อยากศึกษา
2. โครงสร้างของบทเรียนมีความเหมาะสม คือ เนื้อหาต้องเหมาะสมกับพัฒนาการและวัยของผู้เรียน
3. การจัดลำดับเนื้อหา คือ ควรเริ่มเรียนจากเนื้อหาที่ง่ายไปยากไม่ควรข้ามขั้น หรือสอนวนไปมา
4. การเสริมแรง คือ ต้องมีแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากพัฒนาตนเองและเกิดความภูมิใจ
ในตนเอง อาทิ คำชมเชย ของรางวัล เป็นต้น 
สรุป :  ทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ ความเข้าใจ โดยผ่านขั้นความคิด ขั้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต



 Evaluation
   
ตนเอง : วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนเเละพยายามตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
เพื่อน :   เพื่อนแต่ละคนมีส่วนช่วยในงานกลุ่ม มีการร่วมกันแสดงความคิดเห็น ออกแบบและสร้างชิ้นงานเพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน
อาจารย์ : เป็นผู้มอบหมายงานและชี้แนะแนวทางในการทำงาน มีการให้คำปรึกษาเมื่อนักศึกษามีข้อสงสัยในการทำงาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่   14 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย Science Experiences Management For Early Childhood      ...