วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood


วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2560



ความรู้ที่ได้รับ
      ในวันนี้อาจารย์ได้ให้พวกเราแบ่งกลุ่มกันกลุ่มละ 4-5 คน โดยงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้พวกเราทำก็คือ Mind Mapping ตามหน่วยการเรียนรู้ที่มีสอนในโรงเรียน เมื่อได้หน่วยการเรียนรู้ที่สมาชิกภายในกลุ่มระดมความคิดว่าเป็นเรื่องที่สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มสนใจและเป็นเรื่องที่เด็กควรที่จะรู้แล้วนั้นก็นำเนื้อหามาแยกออกเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้
1.ชนิดหรือประเภท
2.ลักษณะ
3.ส่วนนประกอบ
4.ประโยชน์
5.การดูแลรักษา
กลุ่มของพวกเราเลือกหัวข้อ " หมึก"

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood


วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
        อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำแผนผังความคิดของกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวันมีด้วยกันทั้งหมด 8 สาระ ดังนี้
สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 : พลังงาน
สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood


วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2560

การทดลอง การระเหย



อุปกรณ์
1.   ถ้วยพลาสติก
2.   ถ้วยแก้วใบเล็ก
3.   ลูกปัด
4.   พลาสติกห่อหุ้มอาหาร
5.   กาน้ำร้อนพร้อมน้ำร้อน
วิธีการทำ
1.   นำแก้วใบเล็กมาใส่ไว้ในถ้วยพลาสติกโดยวางไว้ตรงกลาง จากนั้นเทน้ำร้อนลงไป
2.   นำพลาสติกห่อหุ้มอาหารมาคลุมถ้วยพลายติกไว้แล้วนำลูกปัดถ่วงไว้ด้านบนโดยวางใหตรงกับถ้วยแก้วที่อยู่ด้านใน
3.   สังเกตดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
 ผลการทดลอง
    การทดลองการระเหย จะเห็นได้ว่าน้ำที่มีความร้อนจะระเหยกลายเป็นไอน้ำขึ้นไปเกาะอยู่ด้านบน เมื่อกระทบกับพลาสติกห่อหุ้มอาหารก็จะรวมตัวกันแล้วกลายเป็นหยดน้ำใหม่  ทำให้ทรายว่าความจริงแล้วน้ำไม่ได้หายไปไหนเพียงแค่เปลี่ยนสถานะกลายป็นไอน้ำขึ้นไปเกาะอยู่ด้านบนและตกลงมากลสยเป็นฝนอย่างที่เรารู้จักนั่นเอง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood


วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2560


ของเล่นวิทยาศาสตร์คือ แมงมุมกะลา
อุปกรณ์
1.   กะลามะพร้าว
2.   ตะเกียบ
3.   หลอดด้าย
4.   หนังยาง
5.   กาวร้อน
6.   สว่านเจาะรู
7.   เชือกสีขาว
วิธีการทำ
1.   นำกะลามาเจาะรูตรงกลาง และเจาะรูด้านข้างของกะลาทั้งหมด 4 รู แบ่งเป็นฝั่งละ 2
2.   นำหลอดด้สยมาเจาะรูให้ขนานกับกะลาทั้ง 4 รูเช่นกัน
3.   จากนั้นน้ำหนังยางมาสอดเข้ากับรูด้านข้างของกะลาแล้วมัดหลอดด้ายใก้อยู่ด้านในกะลา
4.   น้ำเชือกสีขาวมาร้อยเข้าไปในหลอดด้ายแล้วคล้องเข้ากับรูที่เจาะอยู่ด้านบนของกะลา
5.   นำตะเกียบมาตัดเป็นขาของแมงมุมทั้งหมด 8 ขา แล้วนำกาวร้อนมาติด

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2560
**เนื่องจากวันนี้ดิฉันขาดเรียนจึงอ้างอิงมาจากนางสาวพิชสินี



ความรู้ที่ได้รับ
Project Approach "ดาวเรือง"
ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถาม
                    - เด็ก 2 กลุ่มเสนอหัวข้อเรื่องขนมชั้นกับดาวเรือง
ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ครูจัดโครงการขึ้นมา ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์ใหม่
                    - ลักษณะของดอกดาวเรือง
                    - ถิ่นกำเนิดของดาวเรือง
                    - ดาวเรืองที่นิยมปลูกในประเทศไทย
                    - การเจริญเติบโตของดาวเรือง
ระยะที่ 3 ระยะสรุป ครูจัดให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประเมินผลสะท้อนกลับ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้ทำกิจกรรมวาดรูป
อุปกรณ์
1.กระดาษA4
2.ดินสอ
วิธีทำ
1. ตัดครึ่งกระดาษ A4 ใน แนวยาว
2. พับกระดาษ 1 ทบ
3. วาดรูปทั้งสองหน้ากระดาษให้มีลักษณะกิริยาบทที่คล้ายกัน
4. เมื่อวาดเสร็จแล้วให้เปิดปิดกระดาษเร็วๆจะเห็นว่าภาพสามารถเคลื่อนไหวได้




เพลง
one หนึ่ง ถึง to you ท่าน หวาน sweet
sit นั่ง  young หนุ่ม room ห้อง Long ยาว
ขาว white ไกล far ตา eye ใน in
กิน eat this นี้ tea น้ำชา มา come
arm แขน  hand  มือ  ถือ hole
โยน throw go ไป ไม่ not
pot หม้อ  water น้ำ ดำ black
แบบ carry  tree ต้นไม้ my ของฉัน




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood


วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
       จับกลุ่มกลุ่มละ 4 คน โดยให้วางแผนในการที่จะจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย เริ่มจากการคิดเมนูโดยกลุ่มของฉันทำ "แพนเค้ก"
วัตถุดิบ
1. แป้งแพนเค้กสำเร็จรูป
2. ไข่
3.นม
4. น้ำ
5. แยมสตอเบอร์รี่
6. ช็อกโกแลต
7. น้ำตาล
8. เนย

อุปกรณ์
1. กระทะ/ตะหลิว
2. ขวดพลาสติกสำหรับบีบ
3. จาน
4. ช้อน
5. ชามสำหรับผสม

ขั้นตอนการทำ
1. นำแป้งสำเร็จรูปกับนมใส่ในชามผสมตีให้เข้ากัน จากนั้นใช่ไข่ไก่และน้ำตาล ตีให้เข้ากันแล้วพักไว้
2. นำส่วนผสมที่เราตีเข้ากันในขั้นตอนแรกใส่ลงในขวดบีบ
3. ตั้งไฟกลาง นำเนยใส่ลงไป แล้วนำแป้งแผนเค้กที่เราใส่ขวดบีบไว้ บีบลงในกระทะให้เป็นรูปตามใจชอบ
4. เมื่อแป้งเริ่มสุก แป้งจะมีลักษณะเป็นรูๆ ให้กลับอีกด้านนึงเพื่อให้สุก
5. เมื่อสุกแล้วนำใส่จานแล้วตกแต่งด้วยแยมสตอเบอร์รี่หรือช็อกโกแลตตามใจชอบ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood


วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
การเปลี่ยนแปลง  change  การเคลื่อนต้าแหน่ง น้้าขึ้นน้้าลง และสิ่งอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก
ความแตกต่าง  Variety ทุกสิ่งในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของสิ่งต่างๆ
การปรับตัว  Adjustment  ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างบ้านตามที่ราบลุ่มเขา หรือ ทางราบเรียบ
การพึ่งพาอาศัยกัน  Maturity  ทุกสิ่งในโลกนี้จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน
ความสมดุล  Equilibrium  ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิตและปรับตัวให้ได้ดุล และมีความผสมกลมกลืน

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะต้องอยู่บนเงื่อนไข 3 ประการ ดังนี้
   1. เป็นความรู้ทางธรรมชาติ
   2. ได้จากการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าศึกษาค้นคว้า
   3. เป็นความรู้ที่ผ่านการตรวจสอบ หรือยืนยันแล้วว่าเป็นความจริง  (Tested knowledge )


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่   14 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย Science Experiences Management For Early Childhood      ...